การดำเนินงาน 2567

ผู้บริหารระดับสูงของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้กำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด รวมทั้งมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2566
     1.1. มีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการเป็นห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     1.2. มีคณะทำงานด้านห้องสมุดและด้านสิ่งแวดล้อม
     1.3. มีการระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
     1.4. มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     1.5. มีการเก็บข้อมูลและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
     1.6. มีการวางแผนงานเพื่อการพัฒนาและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
     1.7. มีการทบทวนนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานโดยฝ่ายบริหาร


 

 

ห้องสมุดสีเขียวจะต้องทำการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และสร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์ทรัพยากร และการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้กับบุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการให้บริการ ห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้
     2.1. มีการอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
     2.2. มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

ห้องสมุดสีเขียวมีหน้าที่ในการให้บริการความรู้ตามบริบทและนโยบายขององค์กร โดยเพิ่มเติมในส่วนของการให้บริการความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และมีการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
     3.1. จัดการทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้เพียงพอและพร้อมใช้
     3.2. ให้บริการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
     3.3. จัดการพื้นที่บริการให้สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ ปลอดภัย ประหยัดพลังงาน ประหยัดทรัพยากร และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ห้องสมุดสีเขียวจะต้องดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้กับบุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้
     4.1. มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
     4.2. ผู้รับบริการ บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรูปและการนำไปใช้ประโยชน์
     4.3. มีการประเมินผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้และด้านพฤติกรรม

ห้องสมุดสีเขียวจะต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสริมสร้างการเรียนรู้ ร่วมกันในเรื่องการบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
     5.1. มีความร่วมมือกับชมรมห้องสมุดสีเขียว และหน่วยงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
     5.2. มีการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานความร่วมมือ
     5.3. มีการขยายผลการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวสู่ชุมชน

ห้องสมุดสีเขียวจะต้องกำหนดมาตรการในการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
     6.1. มีการกำหนดมาตรการ มีการจัดเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบค่าเป้าหมายในการใช้น้ำ พลังงานไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง กระดาษ และวัสดุสำนักงานอื่น ๆ
     6.2. จัดการประชุมและจัดนิทรรศการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้ พลังงาน และลดปริมาณของเสีย

ห้องสมุดสีเขียวจะต้องจัดการขยะ และจัดการน้ำเสีย เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
     7.1. มีการจัดการขยะ ทำการคัดแยก และลดปริมาณขยะ
     7.2. มีการจัดการน้ำเสีย โดยคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ห้องสมุดสีเขียวจะต้องควบคุมมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง มีการจัดการสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม และพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน ดังนี้
     8.1. มีการควบคุมมลพิษทางอากาศในห้องสมุด มีการจัดการคุณภาพอากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อการให้บริการ
     8.2. มีการบำรุงรักษา ระบบปรับอากาศ ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง
     8.3. มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสม
     8.4. มีการควบคุมความเข้มของแสงสว่างให้เป็นไปตามมาตรฐาน
     8.5. มีการควบคุมมลพิษทางเสียงภายในห้องสมุด
     8.6. มีการวางแผนจัดการและบำรุงรักษาพื้นที่ของห้องสมุด และควบคุมสัตว์พาหะนำโรค
     8.7. มีการเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน โดยวางแผนฉุกเฉินที่เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน มีการอบรมให้ความรู้ ทำการตรวจสอบอุปกรณ์เพียงพอและพร้อมใช้

ห้องสมุดสีเขียวที่ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง ควรเลือกสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้
     9.1. จัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     9.2. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและจัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของห้องสมุด
     9.3. ในกรณีที่มีการจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลควรคัดเลือกหน่วยงานหรือบุคคลที่มีการดำเนินงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกำกับดูแลให้หน่วยงาน
           หรือบุคคลดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด