หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง   

ห้องสมุดที่ประสงค์เป็นห้องสมุดสีเขียว จะต้องกำหนดนโยบาย วางแผนการดำเนินงานและดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

ด้านห้องสมุด
1.1 การกำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว
หลักฐานการตรวจประเมิน

1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของ การบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
(1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของห้องสมุดทั้งหมดทั้งส่วนของสำนักงาน และพื้นที่บริการ
(2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของห้องสมุด

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) เอกสารที่แสดงแผนผังของห้องสมุด ให้รวมพื้นที่สำนักงานและพื้นที่บริการโดยเน้นพื้นที่ภาพรวมให้เห็นถึงขอบเขตทางกายภาพที่จะขอการรับรอง
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) เอกสารที่แสดงกิจกรรมทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ข้อ (1)

1.1.2 มีนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ในด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
(1) มีนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียวและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
(2) มีนโยบายการจัดการและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอและพร้อมใช้
(3) มีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง
(4) มีนโยบายการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (4) ได้แก่ เอกสารนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ซึ่งต้องประกอบด้วยด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว)
  2. ผู้ตรวจประเมินจะต้องพิจารณาเนื้อหาของนโยบายห้องสมุดสีเขียว มีความสอดคล้องกับเกณฑ์ด้านห้องสมุด (ตามเกณฑ์การประเมินห้องสมุดสีเขียว) และเกณฑ์ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว)
  •  

1.1.3 การกำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว โดยผู้บริหารระดับสูง
(1) นโยบายห้องสมุดสีเขียวจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุดหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
(2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายห้องสมุดสีเขียวอย่างชัดเจน
(3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายของการเป็นห้องสมุดสีเขียว
(4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายห้องสมุดสีเขียว

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) และ (2) ได้แก่ เอกสารนโยบายห้องสมุดสีเขียว ที่มีหลักฐานการลงนามจากผู้บริหารสูงสุดหรือผู้มีอำนาจ รวมถึงวันที่ประกาศใช้นโยบายอย่างชัดเจน
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) สัมภาษณ์ผู้บริหารถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านการให้บริการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องสอดคล้องกับที่ระบุลงในนโยบายห้องสมุดสีเขียว
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) สัมภาษณ์ผู้บริหารถึงแนวทางหรือวิธีการในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายซึ่งหลักฐานอาจจะปรากฏในรายงานการประชุมประจำเดือนหรือการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารได้

1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวประจำปี
(1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบทุกหมวด
(2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินงานแต่ละหมวด
(3) มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร

  •  
  1. เอกสารแผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวประจำปี พร้อมการลงนามอนุมัต
  2. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนห้องสมุดสีเขียวประจำปี
  •  

1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านห้องสมุด (ตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว) และมีหลักฐานการลงนามอนุมัติและวันที่ประกาศใช้อย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน ดังนี้
(1) การจัดการและการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(2) การส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และก๊าซเรือนกระจก
(3) การจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ
(4) ความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องสมุดสีเขียว

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (4) คือ เอกสารกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดด้านห้องสมุด ตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว พร้อมการลงนามอนุมัติจากผู้บริหาร
  2. สัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องถึงที่มาอย่างเป็นเหตุเป็นผลในการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด
  • 1.1.6 มีการกำหนดให้งานห้องสมุดสีเขียว ทั้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นงานประจำของหน่วยงาน ดังนี้
  • (1) มีการกำหนดแผนงานห้องสมุดสีเขียวทั้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้เป็นแผนงานประจำของห้องสมุด โดยดำเนินการต่อเนื่องทุกปี
  • (2) มีการสรุปปัญหาและแนวทางการปรับปรุง เป็นข้อมูลเพื่อกำหนดแผนงานห้องสมุดสีเขียวในปีต่อไป
  • (3) มีการบูรณาการงานด้านห้องสมุดและงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว
  • (4) กำหนดให้งานห้องสมุดสีเขียว เป็นภาระงานของบุคลากรที่ต้องได้รับการประเมิน
  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติงานของห้องสมุด ที่แสดงให้เห็นถึงแผนงานห้องสมุดสีเขียว เป็นแผนงานประจำและมีความต่อเนื่อง
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) รายงานสรุปปัญหาการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวปีที่ผ่านมา พร้อมแนวทางการปรับปรุง และ แผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวในปีต่อไป
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) แผนงานหรือกิจกรรม ที่แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการงานด้านห้องสมุด และงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว
  4. หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) เอกสารการมอบหมายงาน และเอกสารภาระงานของบุคลากรห้องสมุดที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดสีเขียว
  5. สัมภาษณ์หัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
  •  

1.1.7 มีการกำหนดนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร หรือนโยบายของประเทศ หรือนโยบายตามบริบทสากลดังนี้
(1) มีการกำหนดนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน ( Carbon Neutrality) หรือ นโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero) ของห้องสมุด
(2) มีการกำหนดเป้าหมายและแผนงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระยะสั้นและระยะยาวของห้องสมุดที่สอดคล้องกับนโยบายตามข้อ (1)
(3) มีการลด และ/หรือ ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(4) ผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในข้อ (2)

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) เอกสารนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) หรือนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของห้องสมุด หรือนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดที่ครอบคลุมการดำเนินงานของห้องสมุด ที่ประกาศโดยผู้บริหาร
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) หลักฐานแสดงเป้าหมายและแผนงานระยะสั้น และระยะยาวของห้องสมุด ที่สอดคล้องกับนโยบายตามข้อ (1)
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) หลักฐานแสดงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือ การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  4. หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) หลักฐานแสดงผลสรุปการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และค่าเป้าหมายที่กำหนด พร้อมคำอธิบายสาเหตุของการบรรลุหรือไม่บรรลุเป้าหมาย
  5.  
1.2 คณะทำงานห้องสมุดสีเขียว

1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการด้านห้องสมุด และคณะกรรมการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
(1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วยงานด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวด และประกอบด้วยบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
(2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการหรือทีมงานอย่างชัดเจน

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (2) คือ เอกสารประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วย กรรมการด้านห้องสมุด และกรรมการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พร้อมลงนามอนุมัติ
    จากผู้บริหาร

1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ด้านห้องสมุด ที่ดำเนินงานตามบทบาท หน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้
(1) ประธาน/หัวหน้า
(2) คณะกรรมการหรือทีมงานด้านห้องสมุด

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (2) ได้แก่ การสุ่มสัมภาษณ์ถึงความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของประธาน คณะกรรมการ หรือทีมงานด้านห้องสมุด
1.3 การทบทวนฝ่ายบริหาร

1.3.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
(1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
(2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านห้องสมุด ในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
(3) จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม
(4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (3) ใบลงชื่อเข้าร่วมประชุม หรือการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้การจัดประชุมหมายรวมถึงการประชุมผ่านระบบออนไลน์ได้ทุกรูปแบบ
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) ผู้เข้าร่วมประชุมทบทวนฝ่ายบริหารแต่ละครั้ง จะต้องมีกลุ่มฝ่ายบริหาร หรือSteering committee โดยมีอำนาจในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง และจะต้องได้รับการแต่งตั้ง มีบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนในการเข้าประชุม
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) สัมภาษณ์เพื่อสอบถามการรายงานผลการประชุม หรือแสดงหลักฐานการเวียนรายงานการประชุม ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

1.3.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารดังนี้
(1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(2) วาระที่ 1 การติดตามผลการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมาทั้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(3) วาระที่ 2 ทบทวนนโยบายห้องสมุดสีเขียว
(4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม)
(5) วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และแนวคิดของผู้บริหารต่อการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร รายชื่อผู้เข้าประชุมและภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) แผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) – (8) รายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และแสดงภาพถ่ายการประชุม
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (7) สัมภาษณ์ผู้บริหารเพื่อดูถึงวิสัยทัศน์ การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
หลักฐานการตรวจประเมิน
1.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของ การจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
(1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของ สำนักงาน
(2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของ สำนักงาน

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) เอกสารที่แสดงแผนผังของสำนักงานโดยเน้นพื้นที่ภาพรวมให้เห็นถึงขอบเขตทางกายภาพที่จะขอการรับรอง
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) เอกสารที่แสดงกิจกรรมทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ข้อ (1)
    1.1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องดังนี้
    (1) การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
    (2) การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    (3) การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
    (4) การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (4) ได้แก่ เอกสารนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือนโยบายสำนักงานสีเขียวของสำนักงาน
  2. ผู้ตรวจประเมินจะต้องพิจารณาเนื้อหาของนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือนโยบายสำนักงานสีเขียวว่าสอดคล้องกับเกณฑ์หรือไม่
  3. การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมไม่จำกัดจำนวนข้อ แต่จะต้องมีเนื้อหาครอบคลุมข้อ (1) – (4) ของเกณฑ์การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
  4. การสร้างความรู้และการตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม จะเขียนนโยบายอย่างไรก็ได้ แต่จะต้องสะท้อนให้เห็นหรือรับทราบความรู้และความตระหนัก
  5. บางสำนักงานมีนโยบายสิ่งแวดล้อมข้อเดียวแต่มีทั้ง 4 หัวข้อนี้รวมกัน ยังคงได้ 4 คะแนน
  6. กรณีที่เข้าตรวจประเมิน แต่นโยบายสิ่งแวดล้อมประกาศใช้เมื่อเดือนที่แล้ว สามารถให้คะแนนเต็มได้
  7.  
  •  

1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง

(1) นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
(2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
(3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
(4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน

 

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) และ (2) ได้แก่ เอกสารนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงานที่มีหลักฐานการลงนามจากผู้บริหารสูงสุดหรือผู้มีอำนาจ รวมถึงวันที่ประกาศใช้นโยบายอย่างชัดเจน
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) สัมภาษณ์ผู้บริหารถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานโดยจะต้องสอดคล้องกับที่ระบุลงในนโยบายสิ่งแวดล้อม
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) สัมภาษณ์ผู้บริหารถึงแนวทางหรือวิธีการในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายซึ่งหลักฐานอาจจะปรากฏในรายงานการประชุมประจำเดือนหรือการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารได้
  4. หลักฐานการทบทวนนโยบายสิ่งแวดล้อมสามารถดูได้จากหมวด 1 (1.8) การทบทวนฝ่ายบริหารข้อ 1.8.2 วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
  1. 1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี

(1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบถ้วนทุกหมวด
(2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินงานของแต่ละหมวด
(3) มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร

  •  
  1. เอกสารแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี พร้อมการลงนามอนุมัติ
  •  
  1. 1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากรพลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
    (1) การใช้ไฟฟ้า
    (2) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
    (3) การใช้น้ำ
    (4) การใช้กระดาษ
    (5) ปริมาณของเสีย
    (6)ปริมาณก๊าซเรือนกระจก

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (6) คือ เอกสารกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมการลงนามอนุมัติจากผู้บริหาร
  2. สัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องถึงที่มาอย่างเป็นเหตุเป็นผลในการกำหนดเป้าหมายทั้ง 6 ด้าน
  3. แสดงข้อมูลการพิจารณาที่มาของการตั้งเป้าหมาย เช่น สถิติข้อมูลการใช้พลังงาน ทรัพยากร รายงานการประชุม เป็นต้น
1.2 คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทาง ดำเนินงาน ดังนี้ 
(1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ โดยคณะกรรมการหรือ ทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวด และบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
(2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (2) คือ เอกสารประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมลงนามอนุมัติจากผู้บริหาร

1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบ ประเมินจากการสุ่มสอบถามดังนี้
(1) ประธาน/หัวหน้า
(2) คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้าน สิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบทุกหมวด (สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจ ประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้)

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) –(2) ได้แก่ การสุ่มสัมภาษณ์ถึงความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ
1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงาน ภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุ และประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
(1) มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงาน ทั้งทางตรง และทางอ้อม ครบถ้วนตามกิจกรรม ขอบเขต และบริบทของสำนักงาน
(2) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่มีความรู้ความเข้าใจ
(3) ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมจะต้องครบถ้วน
(4) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อมครบถ้วน
(5) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน
(6) มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
(7) การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม
(8) มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(9) กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมีกิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะก่อสร้างอาคาร หรือเพิ่มเติมกิจกรรมของสำนักงานในอนาคตอันใกล้ เป็นต้น) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าวด้วย (ถ้ามี)

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (7) อ้างอิงแบบฟอร์ม 1.3 (1) – (3) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้นเพื่อใช้แสดงข้อมูล
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) ผู้รับผิดชอบจะต้องสามารถอธิบายแนวทางการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (7) ผู้รับผิดชอบจะต้องแสดงเกณฑ์การประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย
  4. หลักฐานอ้างอิงข้อ (8) สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.1 (1) แผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปีเป็นหลักฐานในการแสดงข้อมูล
  5. หลักฐานอ้างอิงข้อ (9) กิจกรรมเพิ่มเติมภายในอนาคตอันใกล้ หมายถึงว่าสำนักงานมีแผนงานชัดเจนว่าจะมีกิจกรรมเพิ่มเติมภายในปีปัจจุบันที่ทำการตรวจประเมิน

1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(1) มีสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(2) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(3) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการแก้ไขครบถ้วน
(4) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน
(5) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉินมีการ ดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการป้องกันครบถ้วนอย่างชัดเจน

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) อ้างอิงแบบฟอร์ม 1.3 (4) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้นในการแสดงข้อมูล
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) และ (3) มี 2 ส่วน คือ
    กรณีที่ 1 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นนัยสำคัญที่สามารถนำมากำหนดเป็นแผนงานโครงการสิ่งแวดล้อม ให้ไปพิจารณาหลักฐานในหมวด 1.6
    กรณีที่ 2 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถนำมากำหนดเป็นแผนงานโครงการสิ่งแวดล้อมได้สำนักงานจะต้องแสดงหลักฐานมาตรการควบคุมและมีการปฏิบัติจริงซึ่งสามารถอ้างอิงไปยังหมวดต่างๆ ของเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) และ (5) มี 3 ส่วน คือ
    กรณีที่ 1 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติ จะต้องกำหนดมาตรการป้องกันและมีการปฏิบัติให้ผู้ตรวจประเมินเห็นอย่างชัดเจน
    กรณีที่ 2 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะฉุกเฉินกรณีเหตุเพลิงไหม้สามารถอ้างอิงไปยังหมวด 5 (5.5)
    กรณีที่ 3 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะฉุกเฉินอื่นๆ เช่น สารเคมีหกรั่วไหลปริมาณมากเป็นต้น จะต้องกำหนดแผนระงับเหตุฉุกเฉินและมีการปฏิบัติให้ผู้ตรวจประเมินเห็นอย่างชัดเจน
1.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทาง การดำเนินงานดังนี้
(1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวม กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุม ปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของ สำนักงาน
(3) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมาย และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
(4) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
(5) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน
(6) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมาย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
หมายเหตุ สำนักงานจะต้องค้นหากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) , (3) และ (4) ได้จากการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโดยจะต้องสอบถามขั้นตอนการจัดทำทะเบียนกฎหมาย ตั้งแต่การรวบรวมประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และแหล่งการสืบค้นกฎหมาย
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) และ (5) อ้างอิงแบบฟอร์ม 1.4 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้นเพื่อแสดงรายการกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (6) อ้างอิงแบบฟอร์ม 1.1 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อแสดงแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี

1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการ สิ่งแวดล้อมของสำนักงาน โดยมีการดำเนินการดังนี้
(1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม
(2) มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายครบถ้วน
(3) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง กรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่ สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไข (ถ้ามี)
(4) มีการกำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมีการปฏิบัติตามที่กำหนดได้

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบถึงวิธีการพิจารณาความสอดคล้องกับกฎหมาย
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) อ้างอิงแบบฟอร์ม 1.4 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้นเพื่อแสดงการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมาย
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) อ้างอิงแบบฟอร์ม 1.4 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้นเพื่อแสดงหลักฐานการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมาย
    กรณีที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายจะต้องมีเอกสารการวิเคราะห์
    หมายเหตุสามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7 (1) ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้
  4. หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) อ้างอิงแบบฟอร์ม 1.1 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อแสดงแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี
  5. การตรวจเอกสารเรื่องการประเมินความสอดคล้องของกฎหมาย อย่าลืมตรวจสอบในส่วนการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายท้องถิ่น
  6. ในกรณีที่เข้าไปตรวจประเมินในพื้นที่พบว่า สำนักงานนั้นทำผิดกฎหมายทางผู้ตรวจประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินต่อไปตามปกติ ตรงไหนผิดหรือไม่ตรงตามเกณฑ์ก็ให้ตัดคะแนนตามตัวชี้วัดนั้น ยกตัวอย่างในกรณีที่พบก้นบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบซึ่งถือว่าผิดกฎหมายให้ตัดคะแนนในหมวด 5
    ข้อ 5.1.2 การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด
1.5 ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก

1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย
(1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
(2) ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง
(3) ปริมาณการใช้น้ำประปา
(4) ปริมาณการใช้กระดาษ
(5) ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ)
(โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor; EF) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกล่าสุด)

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1 ) – (5) ใช้แบบฟอร์ม 1.5 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก

1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย
กรณีบรรลุเป้าหมาย

(1) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย

(1) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
(2) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
(3) มีการติดตามผลหลังแก้ไข

  1. หลักฐานแสดงการบรรลุเป้าหมาย คือ แบบฟอร์ม 1.5 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณก๊าชเรือนกระจก

1.5.3 ร้อยละของบุคลากรมีความเข้าใจ และการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี้
(1) ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับการทำสำนักงานสีเขียว
(2) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(3) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย
หมายเหตุ

1. บุคลากรที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบายให้ได้ทั้ง 3 ข้อ
2. สอบถามบุคลากร 4 คนขึ้นไป

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (3) ได้แก่ การสัมภาษณ์บุคลากร
1.6 แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการดังนี้
(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้องสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม
(2) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถวัดผลได้
(3) กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำหนดในโครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
(4) ระยะเวลาการทำโครงการมีความเหมาะสม
(5) โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (5) ใช้เอกสารโครงการสิ่งแวดล้อมที่ทางสำนักงานกำหนดขึ้น
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องถึงความเข้าใจในการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและแผนงาน
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) ผู้ตรวจประเมินจะต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่ากิจกรรมในโครงการสิ่งแวดล้อมจะต้องมีความแตกต่างจากกิจกรรม มาตรการ หรือแนวทางเดิมที่เคยปฏิบัติภายในสำนักงาน
  4. หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) ผู้ตรวจประเมินจะต้องพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาในการจัดทำโครงการสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาจากลักษณะของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่นำมาจัดทำโครงการ
  5. หลักฐานอ้างอิงข้อ (5) สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องถึงบทบาทหน้าที่ ความเข้าใจในการดำเนินโครงการสิ่งแวดล้อม

1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน
(1) มีแผนการดำเนินโครงการหรือนวัตกรรมที่ชัดเจน
(2) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
(3) มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผล และปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
(4) มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
(5) ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด/กรณีที่ไม่บรรลุ เป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
(6) มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุ เป้าหมายตามที่กำหนด

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) , (3) ใช้แบบฟอร์ม 1.6 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อแสดงแผนงานโครงการและกิจกรรม
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2), (4) เอกสารรายงานความคืบหน้าของโครงการ หรือรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร อ้างอิงวาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงาน
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (5) เอกสารสรุปผลโครงการโดยจะต้องมีการวัดผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
  4. หลักฐานอ้างอิงข้อ (6) สัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบโครงการสิ่งแวดล้อมถึงแนวทางการจัดการอย่างต่อเนื่องหลังจากสิ้นสุดโครงการ
1.7 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน
(สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว)

1.7.1 การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายใน
สำนักงาน

(1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ประกอบด้วย หัวหน้าผู้ตรวจประเมินและผู้ตรวจประเมินซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว และหลักสูตรการตรวประเมินสำนักงานสีเขียว

(2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

(3) มีการจัดทำข้อกำหนดการตรวจประเมินภายในครอบคลุมทุกหมวด

(4) กำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละหมวดมีความเพียงพอและเหมาะสมมีความเป็นอิสระในการตรวจประเมินอย่างชัดเจน

(5) การดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานครบถ้วนทุกหมวด

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) เอกสารประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมิน ใบรับรองผู้ตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) แบบฟอร์ม 1.1 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อบันทึกแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) – (4) เอกสารกำหนดการตรวจประเมิน โดยจะต้องมีรายการเรื่องที่จะต้องตรวจประเมิน ผู้ตรวจประเมิน ผู้รับการตรวจประเมิน และวันเวลาในการตรวจประเมิน
  4. หลักฐานอ้างอิงข้อ (5) เอกสารรายการตรวจประเมินของกรมส่งเสริมฯ หากพบข้อบกพร่องจะต้องใช้แบบฟอร์ม 1.7 (1) ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่อง
1.8 การทบทวนฝ่ายบริหาร

1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
(1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
(2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
(3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม
(4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (3) ใบลงชื่อเข้าร่วมประชุม หรือการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้การจัดประชุมหมายรวมถึงการประชุมผ่านระบบออนไลน์ได้ทุกรูปแบบ
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) ผู้เข้าร่วมประชุมทบทวนฝ่ายบริหารแต่ละครั้ง จะต้องมีกลุ่มฝ่ายบริหาร หรือSteering committee โดยมีอำนาจในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง และจะต้องได้รับการแต่งตั้งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนในการเข้าประชุม
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) สัมภาษณ์เพื่อพิจารณาแนวทางการรายงานผลการประชุม หรือแสดงหลักฐานการเวียนรายงานการประชุม ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ดังนี้
(1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(2) วาระที่ 1 การติดตามผลการประชุม ทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมา
(3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
(4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม)
(5) วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุง และพัฒนา
(6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการ ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
(7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหาร ของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง
(8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง

  1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) แบบฟอร์ม 1.1 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อแสดงแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี
  2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) – (8) รายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และแสดงภาพถ่ายการประชุม
  3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (7) สัมภาษณ์ผู้บริหารเพื่อดูถึงวิสัยทัศน์การดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง