หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก
ห้องสมุดสีเขียวจะต้องทำการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และสร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์ทรัพยากร และการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้กับบุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการให้บริการ ห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้
ด้านห้องสมุด
2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
หลักฐานการตรวจประเมิน
2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประว้ติการฝึกอบรม
- (1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรครอบคลุมเนื้อหามีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
- – ความสำคัญของห้องสมุดสีเขียว
- – การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียวและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก
- – การให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- – การจัดหาและการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
- (2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
- (3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ หรือการประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
- (4) จัดทำประวัติการอบรมของบุคลากร
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) แสดงหลักสูตรและแผนการฝึกอบรมประจำปี
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) แสดงหลักฐานการลงทะเบียนและสื่อที่ใช้ในการให้ความรู้กับบุคลากร
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) แสดงรายชื่อ ผลการประเมินการอบรม และหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการอบรม
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) แสดงประวัติการอบรม
2.1.2 กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
(1) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีความรู้ในเนื้อหาการอบรม
(2) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ประวัติ หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (2) เอกสารประวัติการทำงานหรือเอกสารแสดงประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เป็นวิทยากร
2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน
2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารเรื่องห้องสมุดสีเขียว
(1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้
(2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
(3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร
(4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (4) แผนการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ประจำปี พร้อมกับสัมภาษณ์เพื่อดูถึงความเข้าใจของผู้รับผิดชอบในการวางแผนการสื่อสาร
- 2.2.2 มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
- หลักฐานอ้างอิง จะต้องตรวจสอบการสื่อสารตามแผนการสื่อสารที่กำหนดในข้อ 2.2.1
- 2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายและการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถามบุคลากรแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1 (1)
- หลักฐานอ้างอิง สัมภาษณ์บุคลากรจะต้องสอบถามความเข้าใจอย่างน้อย 5 รายการ ตามข้อ 2.2.1 (1)
2.2.4 มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว และนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยต้องมีแนวทางดังนี้
(1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว เช่น ไลน์ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค อีเมล์ กล่องรับความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการประชุม
(2) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
(3) มีการแสดงข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว
(4) มีการรายงานผลการปรับปรุงจากข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น และเสนอต่อผู้บริหาร
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (4) แบบรับข้อเสนอแนะด้านห้องสมุดของแต่ละช่องทาง และรายงานผลการปรับปรุง
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบหรือผู้ที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการรับข้อเสนอแนะข้อคิดเห็น หรือข้อร้องเรียน
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) สามารถใช้หลักฐานรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านห้องสมุด การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านห้องสมุด รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา
ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
(1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรครอบคลุมเนื้อหามีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
– ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
– การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
– การจัดการมลพิษและของเสีย
– การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
– ก๊าซเรือนกระจก
(2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
(3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ หรือการประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
(4) จัดทำประว้ติการอบรมของพนักงาน
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) แบบฟอร์ม 2.1 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อแสดงหลักสูตรและแผนการฝึกอบรมประจำปี
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) ได้แก่ แบบฟอร์ม 2.1 (2) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อแสดงการลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร และสื่อที่ใช้ในการสร้างความรู้ให้กับบุคลากร
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (3) แบบฟอร์ม 2.1 (2) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อแสดงการลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร และหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการอบรม
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) แบบฟอร์ม 2.1 (3) ประวัติการอบรม หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนด หรือสามารถแสดงในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
- 2.1.2 กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
(1) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องเข้าใจเนื้อหาในการอบรม
(2) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ใบรับรองจากหน่วยงานภายนอก หรือ ประวัติ หรือประสบการณ์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (2) สัมภาษณ์วิทยากรในการอบรมถึงความเข้าใจและความสามารถในการถ่ายทอด (หากวิทยากรอยู่ประจำสำนักงาน)
2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) ใบรับรองผ่านการฝึกอบรมสำนักงานสีเขียวจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือหรือเอกสารประวัติการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม หรือเอกสารแสดงประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน
2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน (1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อยดังนี้
(2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
(3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร (ผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน)
(4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร
- หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (4) แบบฟอร์ม 2.2 (1) หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อแสดงแผนการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี พร้อมกับสัมภาษณ์เพื่อดูถึงความเข้าใจของผู้รับผิดชอบในการวางแผนการสื่อสาร
2.2.2 มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
- หลักฐานอ้างอิง จะต้องตรวจสอบการสื่อสารตามแผนการสื่อสารที่กำหนดในข้อ 2.2.1
2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถามพนักงานแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1 (1)
- หลักฐานอ้างอิง สัมภาษณ์พนักงานจะต้องสอบถามความเข้าใจอย่างน้อย 9 รายการ ตามข้อ 2.2.2 (1)
2.2.4 มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยต้องมีแนวทางดังนี้
(1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Line, QR Code การประชุมเว็บไซต์
(2) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
(3) มีการแสดงข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ
(4) มีการรายงานข้อเสนอแนะและการจัดการแก่ผู้บริหาร (บรรยายให้เมาะสม)
1. หลักฐานอ้างอิงข้อ (1) – (4) แบบฟอร์ม 2.2 (2) ใบรับข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมหรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น หรือช่องทางอื่นๆ ตามที่สำนักงานเลือกใช้
2. หลักฐานอ้างอิงข้อ (2) สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบหรือผู้ที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการรับข้อเสนอแนะข้อคิดเห็น หรือข้อร้องเรียน
3. หลักฐานอ้างอิงข้อ (4) สามารถใช้หลักฐานรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา